ทิศทางการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ได้มีการกำหนดให้มีระบบการพัฒนาที่เน้นสมรรถนะ (Teachers and personnels Competency) ซึ่งหมายถึง ความสามารถในการผนึกความรู้ (Knowledge) ทักษะ (Skill) แรงจูงใจ (Motivation) ทัศนคติ (Attitude) และคุณลักษณะส่วนตัวของบุคคลเข้าด้วยกัน แล้วแสดงออกในเชิงพฤติกรรมที่ส่งผลต่อความสำเร็จของงาน ในบทบาทหน้าที่อย่างโดดเด่นและมีประสิทธิภาพ (สคบศ, 2550) สำหรับสมรรถนะของครูนั้น พระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2546 มาตรา 49 ได้กำหนดให้ครูต้องมีสมรรถนะในการปฏิบัติงานไว้ในมาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ ประกอบด้วยสมรรถนะ 9 ด้านคือ ภาษาและเทคโนโลยีสำหรับครู การพัฒนาหลักสูตร การจัดการเรียนรู้ จิตวิทยาสำหรับครู การวัดและประเมินผลทางการศึกษา การบริหารจัดการห้องเรียน การวิจัยทางการศึกษา นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา และความเป็นครู โดยครูจะต้องมีสมรรถนะครบทุกด้านจึงจะสามารถขอใบประกอบวิชาชีพครูหรือรับการประเมินเพื่อเพิ่มวิทยาฐานะได้
การดำเนินการเพื่อพัฒนาครูให้มีสมรรถนะตามมาตรฐาน ในกระบวนการพัฒนาครูของกระทรวงศึกษาธิการ ได้แบ่งเป็น 2 ส่วนคือการผลิตครูใหม่และการพัฒนาครูประจำการ ในส่วนของการพัฒนาสมรรถนะของนักศึกษาครูนั้น สถาบันการศึกษาที่ผลิตครูได้พัฒนาหลักสูตรที่รองรับมาตรฐานต่าง ๆ ไว้อย่างครบถ้วนแล้ว เนื่องจากต้องให้นักศึกษาครูได้รับใบประกอบวิชาชีพเมื่อจบการศึกษา แต่ในส่วนของครูประจำการนั้น กระทรวงศึกษาธิการได้กำหนดวิธีการไว้ในยุทธศาสตร์การพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา ปี 2549-2551 ว่าครูจะต้องเข้ารับพัฒนาตนเองให้มีสมรรถนะตามที่กำหนดจึงจะสามารถขอวิทยฐานะที่สูงขึ้นได้
สถาบันพัฒนาครู คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา (2548) ได้เสนอแนวทางการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา ดังนี้
หลักการ การพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา
การพัฒนาต้องก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ตัวผู้เรียน
การพัฒนาต้องเกิดจากความต้องการของครูและบุคลากรทางการศึกษา
การพัฒนาต้องมุ่งเน้นลักษณะ School Based Development
การพัฒนาต้องมีหลากหลายรูปแบบให้เลือกตามความเหมาะสมของแต่ละบุคคล
การพัฒนาต้องสอดคล้องกับภารกิจและหน้าที่ที่ปฏิบัติของครูและบุคลากรทางการศึกษา
การพัฒนาต้องดำเนินการในรูปแบบเครือข่ายกระจายทั่วประเทศ
การพัฒนาต้องสอดคล้องกับนโยบายและข้อกำหนดของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
การพัฒนาต้องกระทำอย่างทั่วถึงและครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายทั้งในและนอกกระทรวง ศึกษาธิการ ภายใต้ข้อจำกัดของงบประมาณ
รูปแบบและวิธีการพัฒนา
การพัฒนาครู และบุคลากรทางการศึกษา มุ่งเน้นให้มีสมรรถนะตามมาตรฐานตำแหน่งและมาตรฐานวิชาชีพทั้งสมรรถนะหลัก (Core Competency) สมรรถนะการปฏิบัติงานในหน้าที่ (Functional Competency) และสมรรถนะเฉพาะกลุ่มสาระ (Specificational Competency) ตามที่ ก.ค.ศ. กำหนด
รูปแบบของการพัฒนามุ่งเน้นการสร้างเครือข่ายที่มีคุณภาพตามที่ สคบศ. กำหนด ให้กระจายอยู่ทั่วประเทศ เพื่อความสะดวกในการเข้ารับการพัฒนาของคร และบุคลากรทางการศึกษา ทั้งที่เป็นองค์กรเครือข่าย บุคคลเครือข่าย และเครือข่ายทางไกล
วิธีการพัฒนาต้องมีความหลากหลาย สอดคล้องกับความต้องการพัฒนาของครูและบุคลากรทางการศึกษา มุ่งเน้นวิธีการพัฒนาที่โรงเรียน/หน่วยงานเป็นฐาน (School Based Development/Insite based Development) เป็นสำคัญ วิธีการพัฒนาที่สำคัญได้แก่ แบบเพื่อนช่วยเพื่อน(Peer group) การวิจัยในชั้นเรียนอย่างง่าย การเข้ารับการอบรมหรือการเข้าร่วมการสัมมนาทางวิชาการที่หน่วยงานต่าง ๆ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์กับผู้ทรงคุณวุฒิหรือผู้เชี่ยวชาญเฉพาะสาขา
การเรียนรู้ผ่านเครือข่ายทางไกล
การดำเนินการเพื่อพัฒนาครูให้มีสมรรถนะตามมาตรฐาน ในกระบวนการพัฒนาครูของกระทรวงศึกษาธิการ ได้แบ่งเป็น 2 ส่วนคือการผลิตครูใหม่และการพัฒนาครูประจำการ ในส่วนของการพัฒนาสมรรถนะของนักศึกษาครูนั้น สถาบันการศึกษาที่ผลิตครูได้พัฒนาหลักสูตรที่รองรับมาตรฐานต่าง ๆ ไว้อย่างครบถ้วนแล้ว เนื่องจากต้องให้นักศึกษาครูได้รับใบประกอบวิชาชีพเมื่อจบการศึกษา แต่ในส่วนของครูประจำการนั้น กระทรวงศึกษาธิการได้กำหนดวิธีการไว้ในยุทธศาสตร์การพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา ปี 2549-2551 ว่าครูจะต้องเข้ารับพัฒนาตนเองให้มีสมรรถนะตามที่กำหนดจึงจะสามารถขอวิทยฐานะที่สูงขึ้นได้
สถาบันพัฒนาครู คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา (2548) ได้เสนอแนวทางการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา ดังนี้
หลักการ การพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา
การพัฒนาต้องก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ตัวผู้เรียน
การพัฒนาต้องเกิดจากความต้องการของครูและบุคลากรทางการศึกษา
การพัฒนาต้องมุ่งเน้นลักษณะ School Based Development
การพัฒนาต้องมีหลากหลายรูปแบบให้เลือกตามความเหมาะสมของแต่ละบุคคล
การพัฒนาต้องสอดคล้องกับภารกิจและหน้าที่ที่ปฏิบัติของครูและบุคลากรทางการศึกษา
การพัฒนาต้องดำเนินการในรูปแบบเครือข่ายกระจายทั่วประเทศ
การพัฒนาต้องสอดคล้องกับนโยบายและข้อกำหนดของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
การพัฒนาต้องกระทำอย่างทั่วถึงและครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายทั้งในและนอกกระทรวง ศึกษาธิการ ภายใต้ข้อจำกัดของงบประมาณ
รูปแบบและวิธีการพัฒนา
การพัฒนาครู และบุคลากรทางการศึกษา มุ่งเน้นให้มีสมรรถนะตามมาตรฐานตำแหน่งและมาตรฐานวิชาชีพทั้งสมรรถนะหลัก (Core Competency) สมรรถนะการปฏิบัติงานในหน้าที่ (Functional Competency) และสมรรถนะเฉพาะกลุ่มสาระ (Specificational Competency) ตามที่ ก.ค.ศ. กำหนด
รูปแบบของการพัฒนามุ่งเน้นการสร้างเครือข่ายที่มีคุณภาพตามที่ สคบศ. กำหนด ให้กระจายอยู่ทั่วประเทศ เพื่อความสะดวกในการเข้ารับการพัฒนาของคร และบุคลากรทางการศึกษา ทั้งที่เป็นองค์กรเครือข่าย บุคคลเครือข่าย และเครือข่ายทางไกล
วิธีการพัฒนาต้องมีความหลากหลาย สอดคล้องกับความต้องการพัฒนาของครูและบุคลากรทางการศึกษา มุ่งเน้นวิธีการพัฒนาที่โรงเรียน/หน่วยงานเป็นฐาน (School Based Development/Insite based Development) เป็นสำคัญ วิธีการพัฒนาที่สำคัญได้แก่ แบบเพื่อนช่วยเพื่อน(Peer group) การวิจัยในชั้นเรียนอย่างง่าย การเข้ารับการอบรมหรือการเข้าร่วมการสัมมนาทางวิชาการที่หน่วยงานต่าง ๆ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์กับผู้ทรงคุณวุฒิหรือผู้เชี่ยวชาญเฉพาะสาขา
การเรียนรู้ผ่านเครือข่ายทางไกล
บรรณานุกรม
ไพฑูรย์ สินลารัตน์. ปฏิรูปการศึกษา : แนวคิดและหลักการตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพ.ศ.2542. กรุงเทพฯ : วิญญูชน, 2543.
มนตรี จุฬาวัฒนทล. รายงานการวิจัยเรื่อง นโยบายการผลิตและพัฒนาครู. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ, 2542.
วิชัย ตันศิริ. โฉมหน้าการศึกษาไทยในอนาคต : แนวคิดสำหรับการปฏิรูปในพระราชบัญญัติการศึกษา.กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย, 2547.
วสันต์ อติศัพท์. การบูรณาการนวัตกรรมเทคโนโลยีในการฝึกหัดครู. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ฉบับที่ 1, 2546.
สถาบันพัฒนาครู คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา. ยุทธศาสตร์การพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา ปี 2549-2551. กรุงเทพฯ : สำนักปลัดกระทรวง กระทรวงศึกษาธิการ, 2548.
บันทึกโดย:: วุทธิศักดิ์ โภชนุกูล ภาควิชาเทคโนโลยีการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์e-Mail :: wuttisak@pochanukul.comWebsite:: http://www.pochanukul.com
ไพฑูรย์ สินลารัตน์. ปฏิรูปการศึกษา : แนวคิดและหลักการตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพ.ศ.2542. กรุงเทพฯ : วิญญูชน, 2543.
มนตรี จุฬาวัฒนทล. รายงานการวิจัยเรื่อง นโยบายการผลิตและพัฒนาครู. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ, 2542.
วิชัย ตันศิริ. โฉมหน้าการศึกษาไทยในอนาคต : แนวคิดสำหรับการปฏิรูปในพระราชบัญญัติการศึกษา.กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย, 2547.
วสันต์ อติศัพท์. การบูรณาการนวัตกรรมเทคโนโลยีในการฝึกหัดครู. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ฉบับที่ 1, 2546.
สถาบันพัฒนาครู คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา. ยุทธศาสตร์การพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา ปี 2549-2551. กรุงเทพฯ : สำนักปลัดกระทรวง กระทรวงศึกษาธิการ, 2548.
บันทึกโดย:: วุทธิศักดิ์ โภชนุกูล ภาควิชาเทคโนโลยีการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์e-Mail :: wuttisak@pochanukul.comWebsite:: http://www.pochanukul.com
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น