หอย...ดอง

หอย...ดอง
ฮืม........

วันอาทิตย์ที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2553

การสมัคร Twitter ++++++



1. เข้าที่เว็บ http://www.twitter.com/


2. คลิกที่ปุ่ม Sign up now






3. ใส่รายละเอียดผู้สมัคร ดังนี้


Fullname = เป็นชื่อของผู้สมัคร (สามารถเปลี่ยนแปลงภายหลังได้)


Username = ชื่อทวิตเตอร์ของเรา และเป็นส่วนที่สำคัญที่สุดครับ แม้เราจะสามารถเปลี่ยนแปลงภายหลังได้แต่ก็ไม่ควรเปลี่ยนบ่อยๆ เพราะจะทำให้เพื่อนๆจำเราไม่ได้ครับ ชื่อทวิตเตอร์ ควรตั้งชื่อสั้นๆ ให้คนอื่นจำได้ง่ายๆ เช่น iwhale , xza , iThA , maritey , JeyPan ,Oaddybeing ,


Password = ตั้งรหัสผ่าน ตั้งยากๆแต่จำง่าย ควรมีตัวอักษรและตัวเลขผสมกัน เช่น nana2009 , we20ar09 , 1234good เป็นต้นครับ(ให้คิดเองตั้งเองนะอย่างเอาตามตัวอย่าง เดี๋ยวโดนขโมยแอคเคาท์ทวิตเตอร์ไป ไม่รู้ด้วยนะ :-P)


Email = ใส่อีเมล์ของเรา (ขอเป็นอีเมล์ที่ใช้งานได้จริงครับ) Type the words above = ให้ใส่คำที่เรามองเห็นจากด้านบน (ซึ่งจะเห็นว่ามีการเว้นวรรคด้วย) เมื่อสมัครเสร็จเรียบร้อยก็อย่าลืมคลิกตรงคำว่า Create my account ด้วย


4. ขั้นตอนนี้ระบบจะให้เราเชิญชวนเพื่อนๆที่อยู่บัญชีรายชื่ออีเมล์(Address book)ของเราครับ ตรงนี้ให้ คลิกที่ Skip this step ข้ามไปก่อน


5. ขั้นตอนสุดท้ายทวิตเตอร์อยากจะแนะนำเพื่อนให้เราไปติดตาม (follow) อ่านข้อความที่เค้าโพสต์ไว้ แต่ดูยังไงก็ไม่คุ้นหน้า ถ้าเช่นนั้นเราน่าจะข้ามขั้นตอนนี้ไปก่อน เอาเครื่องหมายถูกออกจาก Select All แล้วคลิก Finish


ขั้นตอนการสมัครก็เป็นอันเสร็จสมบรูณ์ ตอนนี้เราก็เข้าสู่ทวิตเตอร์ของเราเป็นครั้งแรก


URL ด้านบนก็จะเป็น http://www.twitter.com/Usernameของเรา ถึงตอนนี้เราก็มีทวิตเตอร์เป็นของตัวเองแล้ว หากใครถามว่า ชื่อทวิตเตอร์ของเราคืออะไร เราก็บอกชือที่อยู่ด้านหลังURLไปได้เลยครับ จากรูปนี้ทวิตเตอร์ชื่อ mike304 และถ้าจะให้เป็นทางการหน่อยก็อย่าลืมใส่ @ ด้านหน้าชื่อของเราด้วย อันนี้เป็นตัวอย่างชื่อทวิตเตอร์ของเพื่อนผมครับ @iwhale , @xza , @iThA , @maritey , @JeyPan , @Oaddybeing , @DearAnnie , @mike304 ถ้าใครสมัครทวิตเตอร์แล้วแต่ยังไม่มีเพื่อนก็ follow เค้าได้เลย (ดูวิธีfollowคลิกที่นี่ www.twitter.kapook.com/follow.php)

รู้จัก Twitter ดีแค่ไหน?

มารู้จัก Twitter กันเถอะ
:: ก่อนอื่นต้องรู้ว่า Twitter คืออะไรTwitter เป็นเว็บไซต์ที่ให้เขียนข้อความสั่้นได้ครั้งละไม่เกิน 140 ตัวอักษร โดยส่งข้อความว่าตัวคุณกำลังทำอะไรอยู่ ผ่านอีเมล์ SMS Messenger หรือ www.twitter.com โดยตรง แล้วส่งให้เพื่อนๆ ที่ติดตาม Twitter ของเราอยู่อ่านได้ ขณะเดียวกันเราเองก็สามารถอ่านข้อความของเพื่อนหรือคนที่กำลังติดตามได้เช่นกัน โดยข้อความที่เขียนแล้วจะไปแสดงอยู่ในหน้า profile ของผู้เขียนและจะส่งข้อความนี้ไปยังสมาชิกที่ติดตามผู้เขียนคนนั้นอยู่โดยอัตโนมัติ::
ต่อมาต้องรู้ว่า Twitter ฮิตแค่ไหนTwitter โด่งดังขนาดเคยถูกหยิบยกไปเป็นเรื่องขึ้นปกนิตยสารไทม์ โดยได้รับการวิเคราะห์ว่าเจ้า "นกน้อย" ส่งสารสั้นๆ กันระหว่างผู้คน ผ่านเว็บและมือถือกำลังจะกลายเป็นรูปแบบการส่งสารอันทรงพลัง และจะแซงหน้าโปรแกรมสื่อสังคมหรือ social media อื่นๆ ได้อย่างแน่นอน เพราะเพียงแค่หนึ่งปีที่ผ่านมาจำนวนคนใช้ Twitter กระโดดจาก 1.22 ล้านคนเป็น 17.10 ล้านคน หรือเติบโตขึ้น 1,298% จนกลายเป็นคู่แข่งที่น่ากลัวของ Google , Facebook , Amazon.com::
เมืองไทยก็เห่อ Twitter เหมือนกันเห่อแค่ไหนนะเหรอ ก็ถึงขนาดจัดงาน Twittbkk ซึ่งเป็นงานปารตี้รวมพลคนใช้ Twitter ในเมืองไทย โดยได้ไอเดียจาก TwittDay ซึ่งจัดมาแล้ว 4 เมืองใหญ่ทั่วโลก รูปแบบงานคือมาปราตี้ พูดคุย และแบ่งปันความรู้ด้าน Twitter กัน หลังจัดครั้งแรกเมื่อเดือนมิถุนายน ปี 2551 ตามมาด้วยครั้งที่ 2 เมื่อต้นปี 2552 ทำให้เกิดการขยายตัวของเครือข่ายและความสนิทสนมกันมากย่ิงขึ้น ล่าสุด Twittbkk#3 ก็เพิ่งจัดไปเมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา:: Twitter คนดังคนส่วนใหญ่ใช้ Twitter เพื่อบอกให้โลกรู้ว่า "ฉันกำลังทำอะไรอยู่" ไม่เว้นแม้แต่ดารา นักร้อง นักการเมือง และอีกหลาย "นัก" ถ้าอยากติดตามความเคลื่อนไหวของคนดังไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป เรารวบรวม Twitter accounts ของคนเหล่านี้มาฝากกันทั้งไทยและเทศ เอาพอหอมปากหอมคอละกันนะ
กาละแมร์ - พัชรศรี เบญจมาศ : @kalamare
พอลล่า เทเลอร์ : @punlapa
กอล์ฟ - ไมค์ : @closergolfmike
โจอี้ บอย : @JoeyBangkokBoy
วุ้ดดี้ - วุฒิธร มิลินทจินดา : @WoodyTalk
ประธานาธิบดีบารัค โอบามา : @BARACKOBAMA
นายกฯ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ : @PM_Abhisit
เดวิค เบคแคม : @beckham
โอปราห์ วินฟรีย์ : @oPRAH
สาววง Girly Berry
กิ๊ฟซ่า : @GifzaGBกิ๊ฟซี่ : @GybzyGBแนนนี่ : @NannieGBเบล์ : @BelleGB5
สาววง Wonder GirlsYenny Park : @WGyennyYubin Kim : @WGyubinSun Min : @WGsunMimi : @WGmimiSohee Ahn : @WGsohee::
รวมศัพท์ Twitter ที่ต้องรู้ถ้าสมัครใช้ Twitter คุณจะได้ยินศัพท์แสง หรือเครื่องหมายหลายอย่างที่จะไม่คุ้นเคย มาดูกันสิว่ามีคำศัพท์ไหนและเครื่องหมายอะไรบ้างที่คุณต้องรู้ไว้จะได้คุยกับใครเขารู้เรื่อง
Tweet = การเขียนข้อความขึ้น
TwitterRetweet = การเอา
Tweet ของคนอื่นมาเขียนใหม่ใน
Twitter โดยมากมักใช้คำย่อว่า RT แทน
Follow = การเพิ่มเพื่อนในรายชื่อ Twitter Account ของคุณ เพื่อจะได้ติดตามได้ทุกครั้งที่อีกฝ่ายมีการอัพเดต
Following = คนที่เราไปตามอ่าน Twitter ของเขาอยู่
Follower = คนที่มาตามอ่าน Twitter ของเรา
# = เครื่องหมาย Hashtag มักใช้ร่วมกับคำบางคำเพื่อเป็นการกำหนด Tag ใน Twitter เช่น #HashtagTweeps = เพื่อนใน Twitter
Twirt = การจีบกัน (Flirt) ใน Twitter
wittersphere หรือ Twitterverse = โลกของ Twitter หรือจักรวาลของ Twitterที่มา : http://my.sony.co.th

วันอาทิตย์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2553

คิดให้ดี 3G

Q. 2G จะยังคงมีอยู่ในเมืองไทยอีกนานไหม?
A. ถ้ายกเลิกแล้วมือถือของพวกเรา 40-50 ล้านเครื่องจะเอาไปไว้ไหนครับ ชัดเจนว่า 2G ยังต้องอยู่กับเราอีกนาน อยากใช้ 3G ต้องซื้อมือถือใหม่ครับ
Q. ผู้ประกอบการ 3G โอนลูกค้าจาก 2G มา 3G ทำให้รัฐฯ ขาดรายได้ จะแก้อย่างไร
A. ไม่มีคำตอบ รู้เพียงว่าถ้าลูกค้าอยากเปลี่ยนมาใช้ 3G โอนเบอร์เดิมได้แต่ต้องซื้อมือถือใหม่ที่เป็นระบบ 3G จะมีลูกค้าซักกี่รายที่ทำได้ ผู้ประกอบการอาจมีแคมเปญลดราคามือถือ 3G ก็ย่อมเป็นไปได้ จะคุ้มหรือไม่ ต้องดีดลูกคิดให้ดี
Q. ทำไมผู้ประกอบการต้องร่วมประมูล 3G ด้วยถ้ามีโอกาสได้ใบอนุญาต 2G ถึง 15 ปี
A. ได้อันไหนก่อนก็เอาอันนั้น ถ้า 2G มาก่อนและอนุญาตให้ refarm 900 1800 spectrum เพื่อใช้ 3G 4G ได้ ก็อาจไม่สนใบ อนุญาต 3G – 2100 MH แต่ถ้า 3G เกิดเร็ว ต้องประมูลไว้ก่อน อนาคตไม่มีอะไรแน่นอน จะได้ไม่พลาดแล้วเสียใจในภายหลัง (ขออนุญาตเดาใจผู้ประกอบการ )

ปัญหา 3G?

ถ้ากล่าวถึงปัญหาของ 3G ต้องย้อนกลับไปเมื่อประมาณ 30 ปีที่แล้ว กิจการโทรคมนาคมพัฒนาโครงสร้างองค์กรที่มีมูลค่ามาเป็นรูปแบบ รัฐวิสาหกิจ ส่วน Broadcast เป็นของทหารทั้งหมด ยกเว้น อสมท. ที่เป็นรัฐวิสาหกิจการบริหาร แบบรัฐวิสาหกิจและวิธีการให้สัมปทานแบบนี้ เป็นระบบที่เราพบแล้วว่ามีปัญหาเพราะปัญหาเรื่องความเป็นเจ้าของทรัพยากร เพราะดูเหมือนรัฐวิสาหกิจจะเป็นผู้ควบคุม และรายได้จากสัญญานี้เข้าสู่รัฐวิสาหกิจก่อน เมื่อได้กำไรจึงเป็นของรัฐ แต่โดยหลักการแล้ว สาธารณะ ควรจะเป็นเจ้าของ และรายได้จากค่าธรรมเนียมก็ควรจะเข้ารัฐ โดยตรง มากกว่าจะเป็นเพียงผลกำไรจากรัฐวิสาหกิจ ไม่มีองค์กรกำกับดูแล (Regulator) ที่เป็นอิสระ ทั้งตรวจสอบได้ยาก ไม่เอื้อต่อการกำหนดระเบียบและกติกาที่โปร่งใส เพราะเป็นการทำสัญญาระหว่างเอกชนกับรัฐวิสาหกิจโดยตรง ระบบนี้อิงอยู่กับรัฐ และเอื้อต่อระบบอุปภัมภ์
ในช่วงปี 2540 รัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 มีแนวคิดใหม่ๆ หลายประการที่พยายามตามให้ทันปัญหาเหล่านี้ คือการเกิด องค์กรอิสระ ซึ่งเป็นองค์กรตรวจสอบทางการเมืองที่มีหน้าที่กำกับดูแล และการมีส่วนร่วมของประชาชนองค์กรอิสระที่เกี่ยวข้องกับโทรคมนาคมของรัฐตามรัฐธรรมนูญ 2540 ก็คือ กทช. ที่ก่อตั้งขึ้นแล้ว และเป็นที่รู้จักกันดีในขณะนี้ ส่วนองค์กรอิสระที่กี่ยวข้องกับวิทยุ โทรทัศน์นั้น ตามแผนก็คือ กสช. แต่เนื่องจากตอนก่อตั้งมีปัญหา การเกิดขึ้นของ กทช. มีความมุ่งหวังหลายประการ ทั้งการเปลี่ยนรูปแบบการให้สัมปทาน มาเป็นการออก ใบอนุญาต โดยกทช. เป็นผู้ดำเนินการและเน้นกลไกลขั้นตอนที่โปร่งใส ตรวจสอบได้ อันได้แก่ต้องมีการประมูลความถี่ใหม่ และจัดการกับความถี่เดิม ช่วงเดียวกันนั่นเอง การแปรรูปรัฐวิสาหกิจก็ได้คืบหน้าเข้ามาสู่รัฐวิสาหกิจด้านโทรคมนาคม อันได้แก่การเกิดขึ้นของ TOT และ CAT Telecomอย่างไรก็ดี ผลที่ตามมา กลับส่งผลตามมาที่เป็นปัญหา ดังนี้
ปัญหาจากสัญญาสัมปทานเก่า
เดิมเมื่อยังเป็นรัฐวิสาหกิจ ทั้ง TOT และ CAT รับบทบาทเป็นผู้ให้สัมปทาน แม้องค์กรอิสระที่หวังให้เป็นองค์กรกำกับดูแลอย่าง กทช. จะเกิดขึ้นแล้ว แต่ก็ยังคงต้องรับรองสัญญาสัมปทานเก่าอยู่ด้วย
หากกทช. ยังคงต้องรับรองสัญญาเก่า แล้วจะเข้าไปจัดการกับกลุ่มความถี่เก่านี้อย่างไรตามความมุ่งหวังของรัฐธรรมนูญ?
ปัญหาอันมาจากการแปรรูปที่ยังไม่สมบูรณ์
องค์กรทั้ง TOT และ CAT แปรรูปและจดทะเบียนเป็นบริษัทที่มุ่งหวังจะเป็น ผู้ดำเนินกิจการ ทางโทรคมนาคมแล้ว คล้ายกับ AIS DTAC หรือ True แต่สัญญาของสัมปทานเก่ายังอยู่ นั่นคือก็คือเงินค่าธรรมเนียมสัมปทานยังคงเข้า TOT และ CAT ซึ่งเป็นเงินจำนวนมหาศาล แล้ว TOT กับ CAT จะสนับสนุนการคืนคลื่นความถี่ของสัมปทานเดิม หรือสนับสนุนการดำเนินการใดๆ ที่อาจมีผลให้สัมปทานเดิมต้องยกเลิกหรือ?
ปัญหาการผูกขาดรูปแบบการลงทุนและกิจการโทรคมนาคมในยุค 3G
เป็นเรื่องน่าสนใจอีกเรืองหนึ่ง ที่อาจจะไม่เกี่ยวกับความเป็นรัฐวิสาหกิจหรือสัมปทานโดยตรง แต่รูปแบบเดิมยังเอื้อต่อการผูกขาดมากครับ กล่าวอย่างกว้างๆ แล้ว ผู้ดำเนินการในธุรกิจนี้แยกได้เป็นสามส่วน
1. ผู้ดำเนินการด้านโครงข่าย
2. ผู้ให้บริการ
3. ผู้ให้บริการเนื้อหา (Content)
ผู้ดำเนินการด้านโครงข่ายเป็นหมวดที่ต้องใช้ลงทุนมหาศาล คุณสุภิญญาถึงกับบอกว่า ตามหลักแล้ว โครงข่ายน่าจะต้องผูกขาด ขณะที่หมวดอื่นๆ นั้น ไม่จำเป็นต้องลงทุนขนาดนี้ ผู้ประกอบการรายเลฏยังสามารถดำเนินการได้ อย่างไรก็ดี ณ ขณะนี้ ข้อกำหนดทางกลุ่มธุรกิจการสื่อสารยังไม่มีระเบียบชัดเจนอยู่ ทำให้เกิดการผูกขาดได้ง่าย เพราะยังไม่มีหลักในการแยกพิจารณาการดำเนินการทีละกลุ่ม แต่กำหนดให้ผู้ประกอบการต้องลงทุนด้านโครงข่ายด้วย จึงปิดทางหน่วยธุรกิจอื่นๆ เพราะคนที่จะลงทุนระดับโครงข่ายทั่วประเทศได้ จะต้องเป็นกลุ่มธุรกิจที่ใหญ่มากๆเปรียบเทียบโครงข่ายกับผู้ให้บริการคือโครงข่าย ก็คล้ายกับ ถนน ผู้ดำเนินการด้านโครงข่าย ก็เปรียบเสมือน ผู้สร้างถนน ผู้ให้บริการ ก็คล้ายกับผู้ให้บริการที่ใช้ถนนให้เป็นประโยชน์ เช่นบริษัทรถขนส่งต่างๆ นครชัยแอร์, สมบัติทัวร์,บขส ฯลฯ รูปแบบเดิม ก็คล้ายกับการกำหนดให้ บริษัทที่สนใจกิจการรถขนส่ง จำเป็นต้องมาประมูลสร้างถนนด้วยนั่นเอง ซึ่งในการจัดสรร 3G ที่กำลังจะเกิดขึ้นนี้ ได้พยายามแก้ปัญหานี้ ด้วยการเปิดพื้นที่ให้กับ ผู้ให้บริการที่ไม่มีระบบโครงข่าย หรือ MVNO (Mobile virtual network operator) นั่นเองเงื่อนไขการจัดสรร 3G ที่กำลังอยู่ในแผนการนี้ กำหนดว่าต้องกัน 40% ให้ MVNO ผู้ลงทุนดำเนินการด้านการให้บริการเองทั้งหมดไม่ได้ การเปิดเสรีของผู้ให้บริการนี้เอง จะทำให้ทุกคนสามารถเป็นผู้ให้บริการ 3G ได้ครับ อย่างเช่น 365 หรือ iFox 3G และไม่เว้นแม้แต่ TiGERiDEA ก็ยังสามารถทำได้
ปัญหาความทับซ้อนของ 3G ธุรกิจสื่อสารกับธุรกิจ Broadcast
มาตรฐานโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3G นอกจากจะรองรับการสื่อสารข้อมูลที่รวดเร็วกว่ามาตรฐาน 2G/2.5G/2.75G แล้ว ยังก่อให้เกิดการถือกำเนิดของบริการรูปแบบใหม่ ๆ ที่ไม่สามารถสร้างขึ้นบนเครือข่ายเก่าได้ ที่ชัดเจนก็คือบริการ Video Telephony และ Video Conference ซึ่งเป็นการสื่อสารแบบเห็นหน้า โดยเครือข่าย 3G จะทำการถ่ายทอดสดทั้งภาพและเสียงระหว่างคู่สนทนา โดยไม่เกิดความหน่วงหรือล่าช้าของข้อมูล
ไทย – โมบาย เป็นเพียงผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่รายเดียวในประเทศไทยที่สามารถเปิด ให้บริการเครือข่าย 3G แบบ W-CDMA ได้ในทันที เนื่องจากมีสิทธิ์ใช้คลื่นความถี่วิทยุในย่าน 1965 – 1980 เมกะเฮิตรซ์ และ 2155 – 2170 เมกะเฮิตรซ์ ขณะที่ผู้ให้บริการเครือข่ายรายอื่น ๆ จำเป็นต้องยื่นคำร้องผ่านกระบวนการจัดสรรคลื่นความถี่วิทยุโดยคณะกรรมการ กิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์แห่งชาติ (กสช.) ซึ่งคาดว่าจะต้องใช้เวลาอีกหลายปี
ในปัจจุบัน รัฐธรรมนูญปี 2550 กำหนดให้ตั้งองค์กรอิสระขึ้นมาใหม่เป็นองค์กรเดียว ดูแลทั้ง โทรคมาคมและวิทยุโทรทัศน์ ที่ชื่อว่า กสทช.

3G คืออะไร


คำว่าโทรศัพท์เคลื่อนที่ยุคที่สามหรือที่เรียกกันทั่วไปว่า 3G และเป็นเรื่องที่น่าสนใจทั้งด้านเทคโนโลยีสมัยใหม่และธุรกิจที่มีมูลค่ามหาศาล อีกทั้งการทำการตลาดที่ดุเดือดเพื่อแย่งชิงลูกค้า หากมีคนถามว่าโทรศัพท์เคลื่อนที่ยุคที่สามหรือ 3G คืออะไร? มักจะตอบกลับไปง่ายๆ ว่าก็คือโทรศัพท์เคลื่อนที่ยุคต่อไปไงล่ะครับ แต่หากเราต้องการคำตอบจริงๆ ว่าโทรศัพท์เคลื่อนที่ยุคที่สามหรือ 3G นั้นแท้จริงแล้วคืออะไร มีใครนิยามเป็นทางการไว้หรือไม่และนิยามว่าอย่างไรกันนะ คำตอบก็คือ

โทรศัพท์เคลื่อนที่ยุคที่สาม หรือ Third Generation of Mobile Telephone หรือ เรียกย่อว่า 3G เป็นอุปกรณ์ที่ผสมผสาน การนำเสนอข้อมูล และ เทคโนโลยีในปัจจุบันเข้าด้วยกัน เช่น PDA โทรศัพท์มือถือ Walkman, กล้องถ่ายรูป และ อินเทอร์เน็ต 3G เป็นเทคโนโลยีที่พัฒนาต่อเนื่องจากยุคที่ 2 และ 2.5 ซึ่งเป็นยุคที่มีการให้บริการระบบเสียง และ การส่งข้อมูลในขั้นต้น ทั้งยังมีข้อจำกัดอยู่มาก การพัฒนาของ 3G ทำให้เกิดการใช้บริการมัลติมีเดีย และ ส่งผ่านข้อมูลในระบบไร้สายด้วยอัตราความเร็วที่สูงขึ้น
ลักษณะการทำงานของ 3G เมื่อเปรียบเทียบเทคโนโลยี 2G กับ 3G แล้ว 3G มีช่องสัญญาณความถี่ และ ความจุในการรับส่งข้อมูลที่มากกว่า ทำให้ประสิทธิภาพในการรับส่งข้อมูลแอพพลิเคชั่น รวมทั้งบริการระบบเสียงดีขึ้น พร้อมทั้งสามารถใช้ บริการมัลติมีเดียได้เต็มที่ และ สมบูรณ์แบบขึ้น เช่น บริการส่งแฟกซ์, โทรศัพท์ต่างประเทศ ,รับ-ส่งข้อความที่มีขนาดใหญ่ ,ประชุมทางไกลผ่านหน้าจออุปกรณ์สื่อสาร, ดาวน์โหลดเพลง, ชมภาพยนตร์แบบสั้นๆ เทคโนโลยี
3G น่าสนใจอย่างไร
จากการที่ 3G สามารถรับส่งข้อมูลในความเร็วสูง ทำให้การติดต่อสื่อสารเป็นไปได้ อย่างรวดเร็ว และ มีรูปแบบใหม่ๆ มากขึ้น ประกอบกับอุปกรณ์สื่อสารไร้สายในระบบ 3G สามารถให้บริการระบบเสียง และ แอพพลิเคชั่นรูปแบบใหม่ เช่น จอแสดงภาพสี, เครื่องเล่น mp3, เครื่องเล่นวีดีโอ การดาวน์โหลดเกม, แสดงกราฟฟิก และ การแสดงแผนที่ตั้งต่างๆ ทำให้การสื่อสารเป็นแบบอินเตอร์แอคทีฟ ที่สร้างความสนุกสนาน และ สมจริงมากขึ้น
3G ช่วยให้ชีวิตประจำวันสะดวกสบายและคล่องตัวขึ้น โดย โทรศัพท์เคลื่อนที่เปรียบเสมือน คอมพิวเตอร์แบบพกพา, วิทยุส่วนตัว และแม้แต่กล้องถ่ายรูป ผู้ใช้สามารถเช็คข้อมูลใน account ส่วนตัว เพื่อใช้บริการต่างๆ ผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ เช่น self-care (ตรวจสอบค่าใช้บริการ), แก้ไขข้อมูลส่วนตัว และ ใช้บริการข้อมูลต่างๆ เช่น ข่าวเกาะติดสถานการณ์, ข่าวบันเทิง, ข้อมูลด้านการเงิน, ข้อมูลการท่องเที่ยว และ ตารางนัดหมายส่วนตัว “Always On”
คุณสมบัติหลักของ 3G คือ
มีการเชื่อมต่อกับระบบเครือข่ายของ 3G ตลอดเวลาที่เราเปิดเครื่องโทรศัพท์ (always on) นั่นคือไม่จำเป็นต้องต่อโทรศัพท์เข้าเครือข่าย และ log-in ทุกครั้งเพื่อใช้บริการรับส่งข้อมูล ซึ่งการเสียค่าบริการแบบนี้ จะเกิดขึ้นเมื่อมีการเรียกใช้ข้อมูลผ่านเครือข่ายเท่านั้น โดยจะต่างจากระบบทั่วไป ที่จะเสียค่าบริการตั้งแต่เราล็อกอินเข้าในระบบเครือข่าย อุปกรณ์สื่อสารไร้สายระบบ 3G สำหรับ 3G อุปกรณ์สื่อสารไม่ได้จำกัดอยู่เพียงแค่โทรศัพท์เท่านั้น แต่ยังปรากฏในรูปแบบของอุปกรณ์ สื่อสารอื่น เช่น Palmtop, Personal Digital Assistant (PDA), Laptop และ PC

วันอาทิตย์ที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2553

กระบวนทัศน์ใหม่ของครุศึกษา


การศึกษาต้องทำหน้าที่เพื่อเตรียมเยาวชนเข้าสู่โลกใหม่ที่กำลังเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งมีสิ่งสำคัญสามประการคือ เนื้อหา สื่อ และวิธีจัดการเรียนรู้ สังคมต้องการโรงเรียนแบบใหม่ ที่เตรียมเด็กให้รู้จักเลือกสรรข่าวสารความรู้มาใช้ประโยชน์ รู้จักใช้ประโยชน์จากสารสนเทศ มีความสามารถเรียนรู้ทักษะใหม่ ๆ ดังนั้นเทคโนโลยีจึงมีความสำคัญอย่างมากต่อการจัดการศึกษาแบบใหม่ อันจะช่วยทำให้เกิดมีวิธีนำเสนอต่าง ๆ ที่ช่วยให้การเรียนรู้ได้อย่างไม่จำกัด ครูจึงมีภาระในการวางแผนว่าจะเชื่อมโยงเทคโนโลยีเข้ากับหลักสูตรอย่างไร อีกทั้งคิดกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้อย่างเต็มศักยภาพของผู้เรียนแต่ละคนเทคโนโลยีสารสนเทศได้เข้ามามีบทบาทอย่างสูงในสังคมยุคใหม่ จึงมีคำถามว่าจะทำอย่างไรที่จะนำเอาเทคโนโลยีที่ก้าวหน้ามาใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่และเหมาะสม ด้วยเหตุนี้การปฏิรูปการศึกษาจึงเกิดขึ้นทั่วโลกเพื่อเตรียมเยาวชนของชาติเข้าสู่สังคมยุคใหม่ การเตรียมครูสำหรับสังคมยุคใหม่ที่มีความรู้ความสามารถในการบูรณาการเทคโนโลยีในการเรียนการสอนจึงเป็นปัจจัยที่สำคัญประการหนึ่งในการปฏิรูปการศึกษาสำนักงานประเมินเทคโนโลยี รัฐสภาแห่งสหรัฐอเมริกา (Office of Technology Assessment, 1995) ระบุไว้ว่าเทคโนโลยีไม่ได้เป็นศูนย์กลางในโปรแกรมการฝึกหัดครูของคณะศึกษาศาสตร์ ดังนั้นครูใหม่จึงมีความรู้ที่จำกัดในการใช้เทคโนโลยีในการจัดการเรียนการสอน คณะศึกษาศาสตร์จะเน้น “การสอนเกี่ยวกับเทคโนโลยี” มากกว่า “การสอนด้วยเทคโนโลยี”สิ่งที่สำคัญในการปฏิรูปการศึกษาคือการปฏิรูปการผลิตครู ที่นักศึกษาครูยุคใหม่จะต้องพร้อมเข้าสู่วงการวิชาชีพครูด้วยสมรรถภาพและความมั่นใจด้านการบูรณาการเทคโนโลยี โดยเฉพาะเทคโนโลยีสารสนเทศในการปฏิบัติงานทางวิชาชีพ คณะศึกษาศาสตร์จะต้องแสดงภาวะผู้นำในการพัฒนาครูรุ่นใหม่ที่มีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีในการจัดการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ กระบวนทัศน์เก่าในเรื่องการจัดการเรียนการสอนวิชาเทคโนโลยีการศึกษาในการผลิตบัณฑิตทางการศึกษา
อาจารย์ในคณะศึกษาศาสตร์มีแนวโน้มที่จะมองเทคโนโลยีในฐานะศาสตร์อีกศาสตร์หนึ่ง มากกว่าสิ่งที่ควรได้รับการบูรณาการในเนื้อหาวิชาต่างๆ (OTA, 1995)
นักศึกษาครูต้องมีโอกาสได้เห็นอาจารย์ใช้เทคโนโลยีในทุกรายวิชา มากกว่าที่จะเห็นหรือได้เรียนการใช้เทคโนโลยีในการเรียนการสอนจากรายวิชาด้านเทคโนโลยีการศึกษาเพียงหนึ่งหรือสองวิชา (Brownell & Brownell, 1991; วสันต์ อติศัพท์, 2546 )
อุปสรรคที่สำคัญในการบูรณาการเทคโนโลยีในหลักสูตรศึกษาศาสตร์ คือ
ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ การขาดความสนใจ ทัศนคติด้านเทคโนโลยี การไม่มีเวลาในการเรียนรู้เทคโนโลยีใหม่ การขาดทักษะและความชำนาญในการใช้เทคโนโลยี
ปัจจัยด้านสถาบัน ได้แก่ นโยบายที่ชัดเจนด้านการใช้เทคโนโลยีในการเรียนการสอนของสถาบันฝึกหัดครู ความจำกัดของทรัพยากรด้านเทคโนโลยี งบประมาณการลงทุนทางเทคโนโลยี (Atisabda, 2001; Duhon, 1999; OTA, 1995; วสันต์ อติศัพท์, 2546)
กระบวนทัศน์ใหม่ด้านเทคโนโลยีการศึกษาในการฝึกหัดครู (วสันต์ อติศัพท์, 2546) คือ
การสร้างสภาพแวดล้อมใหม่ในคณะศึกษาศาสตร์ เพื่อส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีการศึกษาในบริบทจริง ที่มีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น
เน้นการสอนด้วยเทคโนโลยี มิใช่สอนเกี่ยวกับเทคโนโลยี ความรับผิดชอบด้านเทคโนโลยีการศึกษามิได้จำกัดเพียงแต่คณาจารย์ภาควิชาเทคโนโลยีการศึกษา อาจารย์คณะศึกษาศาสตร์ทุกคนต้องเป็นต้นแบบการใช้เทคโนโลยีการศึกษาในการเรียนการสอน
เทคโนโลยีการศึกษาต้องบูรณาการอยู่ทั่วทั้งหลักสูตรของคณะศึกษาศาสตร์
บรรณานุกรม
ไพฑูรย์ สินลารัตน์. ปฏิรูปการศึกษา : แนวคิดและหลักการตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพ.ศ.2542. กรุงเทพฯ : วิญญูชน, 2543.
มนตรี จุฬาวัฒนทล. รายงานการวิจัยเรื่อง นโยบายการผลิตและพัฒนาครู. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ, 2542.
วิชัย ตันศิริ. โฉมหน้าการศึกษาไทยในอนาคต : แนวคิดสำหรับการปฏิรูปในพระราชบัญญัติการศึกษา.กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย, 2547.
วสันต์ อติศัพท์. การบูรณาการนวัตกรรมเทคโนโลยีในการฝึกหัดครู. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ฉบับที่ 1, 2546.
สถาบันพัฒนาครู คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา. ยุทธศาสตร์การพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา ปี 2549-2551. กรุงเทพฯ : สำนักปลัดกระทรวง กระทรวงศึกษาธิการ, 2548.
Atisabda, W. Preservice teacher education in the information society:institutional efforts and faculty implementation of technology innovations.University of Missouri-Columbia, 2001.
John Wedman and Laura Diggs. Creating A Technology-Enhanced Learning Environmentin Teacher Education. University of Missouri-Columbia USA, 19_ _.
John Wedman, Jim Laffey, Richard Andrews, Laura Diggs, Lynn Diel. Building TechnologyInfrastructure and Enterprises: Increasing Performance Capacity.University of Missouri-Columbia USA, 19_ _.
Marra, R.M., Howland, J., Diggs, L., Wedman, J. A Little TLC (Technology Learning Cycle)as a Means to Technology Integration. The University of Missouri – Columbia, 2003.
Office of Technology Assessment (OTA), Education and Technology: Future Visions.U.S. Congress, (Washington, DC: U.S. Government Printing Office, 1995.
Office of Technology Assessment (OTA), Teachers and Technology: Making the Connection.U.S. Congress, (Washington, DC: U.S. Government Printing Office, 1995.
Yuehua Zhang. A Project-Based Learning Approach to Helping Pre-Service TeachersDevelop Technology Competencies. The Technology Source, September/October 2000. Available online at http://ts.mivu.org/default.asp?show=article&id=1034.
บันทึกโดย:: วุทธิศักดิ์ โภชนุกูล ภาควิชาเทคโนโลยีการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์e-Mail :: wuttisak@pochanukul.comWebsite:: http://www.pochanukul.com

แนวทางการใช้เทคโนโลยีเพื่อเพิ่มศักยภาพของครู โดย: ครูฌอง | July 3, 2008 |



เปลี่ยนการสอนและการเรียน เป็นแหล่งในการสร้างความคิดรวบยอด วางระบบ สำรวจปัญหาและทักษะพื้นฐาน เป็นแหล่งที่ช่วยให้เกิดการทำงานเป็นกลุ่มและการสร้างความร่วมมือในการสืบค้น นำไปสู่การเรียนรู้ในรูปแบบที่หลากหลายของนักเรียนและความต้องการพิเศษต่าง ๆ
หน้าที่ของครู สร้างความคาดหมายต่อผู้เรียน, อำนวยความสะดวกในการทำงานของผู้เรียนรายบุคคล, เสนอองค์ประกอบของสื่อ, ปรับการสอนตามความต้องการเป็นรายบุคคล, เปลี่ยนบทบาทใหม่ (แนะแนวทางมากกว่าการบอก), ลดการบรรยายเพิ่มกิจกรรมที่ผู้เรียนเป็นสำคัญในชั้นเรียน ช่วยงานประจำวันของครู การเตรียมแผนการสอน
การปฏิบัติงานระเบียนนักเรียน การติดต่อสื่อสารกับผู้ปกครอง ผู้บริหาร และนักเรียน การพัฒนาสมรรถนะครู การใช้ในการฝึกอบรมและสนับสนุน เช่น การใช้ระบบดาวเทียม วิดีโอ เคเบิ้ล คอมพิวเตอร์ ครูต้นแบบ
พัฒนาหลักสูตรทั่วไปและระดับสูง เช่น การใช้ระบบการศึกษาทางไกลผ่านเทคโนโลยี พัฒนาระบบการศึกษาอื่น ๆ ที่เหมาะสม เช่น การติดต่อกับครูหรือผู้เชี่ยวชาญโดยการออนไลน์ การเตรียมครูใหม่
รูปแบบการพัฒนาการสอนของครู เช่น การใช้วิดีโอบันทึกการสอนของครูในชั้นเรียนแล้วนำไปศึกษาผลการสอน การใช้คอมพิวเตอร์ วิดีโอ จำลองสถานการณ์เพื่อให้ครูฝึกปฏิบัติการแก้ปัญหา โดยไม่ต้องใช้สภาพแวดล้อมจริง การใช้เครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อการปรึกษา แลกเปลี่ยนความคิดเห็น และปฏิสัมพันธ์กับครูพี่เลี้ยง

Office of Technology Assessment (OTA),Teachers and Technology: Making the Connection.U.S. Congress, (Washington, DC: U.S.Government Printing Office, 1995.
บันทึกโดย:: วุทธิศักดิ์ โภชนุกูล ภาควิชาเทคโนโลยีการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์e-Mail :: wuttisak@pochanukul.comWebsite:: http://www.pochanukul.com