การศึกษาต้องทำหน้าที่เพื่อเตรียมเยาวชนเข้าสู่โลกใหม่ที่กำลังเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งมีสิ่งสำคัญสามประการคือ เนื้อหา สื่อ และวิธีจัดการเรียนรู้ สังคมต้องการโรงเรียนแบบใหม่ ที่เตรียมเด็กให้รู้จักเลือกสรรข่าวสารความรู้มาใช้ประโยชน์ รู้จักใช้ประโยชน์จากสารสนเทศ มีความสามารถเรียนรู้ทักษะใหม่ ๆ ดังนั้นเทคโนโลยีจึงมีความสำคัญอย่างมากต่อการจัดการศึกษาแบบใหม่ อันจะช่วยทำให้เกิดมีวิธีนำเสนอต่าง ๆ ที่ช่วยให้การเรียนรู้ได้อย่างไม่จำกัด ครูจึงมีภาระในการวางแผนว่าจะเชื่อมโยงเทคโนโลยีเข้ากับหลักสูตรอย่างไร อีกทั้งคิดกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้อย่างเต็มศักยภาพของผู้เรียนแต่ละคนเทคโนโลยีสารสนเทศได้เข้ามามีบทบาทอย่างสูงในสังคมยุคใหม่ จึงมีคำถามว่าจะทำอย่างไรที่จะนำเอาเทคโนโลยีที่ก้าวหน้ามาใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่และเหมาะสม ด้วยเหตุนี้การปฏิรูปการศึกษาจึงเกิดขึ้นทั่วโลกเพื่อเตรียมเยาวชนของชาติเข้าสู่สังคมยุคใหม่ การเตรียมครูสำหรับสังคมยุคใหม่ที่มีความรู้ความสามารถในการบูรณาการเทคโนโลยีในการเรียนการสอนจึงเป็นปัจจัยที่สำคัญประการหนึ่งในการปฏิรูปการศึกษาสำนักงานประเมินเทคโนโลยี รัฐสภาแห่งสหรัฐอเมริกา (Office of Technology Assessment, 1995) ระบุไว้ว่าเทคโนโลยีไม่ได้เป็นศูนย์กลางในโปรแกรมการฝึกหัดครูของคณะศึกษาศาสตร์ ดังนั้นครูใหม่จึงมีความรู้ที่จำกัดในการใช้เทคโนโลยีในการจัดการเรียนการสอน คณะศึกษาศาสตร์จะเน้น “การสอนเกี่ยวกับเทคโนโลยี” มากกว่า “การสอนด้วยเทคโนโลยี”สิ่งที่สำคัญในการปฏิรูปการศึกษาคือการปฏิรูปการผลิตครู ที่นักศึกษาครูยุคใหม่จะต้องพร้อมเข้าสู่วงการวิชาชีพครูด้วยสมรรถภาพและความมั่นใจด้านการบูรณาการเทคโนโลยี โดยเฉพาะเทคโนโลยีสารสนเทศในการปฏิบัติงานทางวิชาชีพ คณะศึกษาศาสตร์จะต้องแสดงภาวะผู้นำในการพัฒนาครูรุ่นใหม่ที่มีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีในการจัดการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ กระบวนทัศน์เก่าในเรื่องการจัดการเรียนการสอนวิชาเทคโนโลยีการศึกษาในการผลิตบัณฑิตทางการศึกษา
อาจารย์ในคณะศึกษาศาสตร์มีแนวโน้มที่จะมองเทคโนโลยีในฐานะศาสตร์อีกศาสตร์หนึ่ง มากกว่าสิ่งที่ควรได้รับการบูรณาการในเนื้อหาวิชาต่างๆ (OTA, 1995)
นักศึกษาครูต้องมีโอกาสได้เห็นอาจารย์ใช้เทคโนโลยีในทุกรายวิชา มากกว่าที่จะเห็นหรือได้เรียนการใช้เทคโนโลยีในการเรียนการสอนจากรายวิชาด้านเทคโนโลยีการศึกษาเพียงหนึ่งหรือสองวิชา (Brownell & Brownell, 1991; วสันต์ อติศัพท์, 2546 )
อุปสรรคที่สำคัญในการบูรณาการเทคโนโลยีในหลักสูตรศึกษาศาสตร์ คือ
ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ การขาดความสนใจ ทัศนคติด้านเทคโนโลยี การไม่มีเวลาในการเรียนรู้เทคโนโลยีใหม่ การขาดทักษะและความชำนาญในการใช้เทคโนโลยี
ปัจจัยด้านสถาบัน ได้แก่ นโยบายที่ชัดเจนด้านการใช้เทคโนโลยีในการเรียนการสอนของสถาบันฝึกหัดครู ความจำกัดของทรัพยากรด้านเทคโนโลยี งบประมาณการลงทุนทางเทคโนโลยี (Atisabda, 2001; Duhon, 1999; OTA, 1995; วสันต์ อติศัพท์, 2546)
กระบวนทัศน์ใหม่ด้านเทคโนโลยีการศึกษาในการฝึกหัดครู (วสันต์ อติศัพท์, 2546) คือ
การสร้างสภาพแวดล้อมใหม่ในคณะศึกษาศาสตร์ เพื่อส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีการศึกษาในบริบทจริง ที่มีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น
เน้นการสอนด้วยเทคโนโลยี มิใช่สอนเกี่ยวกับเทคโนโลยี ความรับผิดชอบด้านเทคโนโลยีการศึกษามิได้จำกัดเพียงแต่คณาจารย์ภาควิชาเทคโนโลยีการศึกษา อาจารย์คณะศึกษาศาสตร์ทุกคนต้องเป็นต้นแบบการใช้เทคโนโลยีการศึกษาในการเรียนการสอน
เทคโนโลยีการศึกษาต้องบูรณาการอยู่ทั่วทั้งหลักสูตรของคณะศึกษาศาสตร์
บรรณานุกรม
ไพฑูรย์ สินลารัตน์. ปฏิรูปการศึกษา : แนวคิดและหลักการตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพ.ศ.2542. กรุงเทพฯ : วิญญูชน, 2543.
มนตรี จุฬาวัฒนทล. รายงานการวิจัยเรื่อง นโยบายการผลิตและพัฒนาครู. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ, 2542.
วิชัย ตันศิริ. โฉมหน้าการศึกษาไทยในอนาคต : แนวคิดสำหรับการปฏิรูปในพระราชบัญญัติการศึกษา.กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย, 2547.
วสันต์ อติศัพท์. การบูรณาการนวัตกรรมเทคโนโลยีในการฝึกหัดครู. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ฉบับที่ 1, 2546.
สถาบันพัฒนาครู คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา. ยุทธศาสตร์การพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา ปี 2549-2551. กรุงเทพฯ : สำนักปลัดกระทรวง กระทรวงศึกษาธิการ, 2548.
Atisabda, W. Preservice teacher education in the information society:institutional efforts and faculty implementation of technology innovations.University of Missouri-Columbia, 2001.
John Wedman and Laura Diggs. Creating A Technology-Enhanced Learning Environmentin Teacher Education. University of Missouri-Columbia USA, 19_ _.
John Wedman, Jim Laffey, Richard Andrews, Laura Diggs, Lynn Diel. Building TechnologyInfrastructure and Enterprises: Increasing Performance Capacity.University of Missouri-Columbia USA, 19_ _.
Marra, R.M., Howland, J., Diggs, L., Wedman, J. A Little TLC (Technology Learning Cycle)as a Means to Technology Integration. The University of Missouri – Columbia, 2003.
Office of Technology Assessment (OTA), Education and Technology: Future Visions.U.S. Congress, (Washington, DC: U.S. Government Printing Office, 1995.
Office of Technology Assessment (OTA), Teachers and Technology: Making the Connection.U.S. Congress, (Washington, DC: U.S. Government Printing Office, 1995.
Yuehua Zhang. A Project-Based Learning Approach to Helping Pre-Service TeachersDevelop Technology Competencies. The Technology Source, September/October 2000. Available online at http://ts.mivu.org/default.asp?show=article&id=1034.
บันทึกโดย:: วุทธิศักดิ์ โภชนุกูล ภาควิชาเทคโนโลยีการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์e-Mail :: wuttisak@pochanukul.comWebsite:: http://www.pochanukul.com
อาจารย์ในคณะศึกษาศาสตร์มีแนวโน้มที่จะมองเทคโนโลยีในฐานะศาสตร์อีกศาสตร์หนึ่ง มากกว่าสิ่งที่ควรได้รับการบูรณาการในเนื้อหาวิชาต่างๆ (OTA, 1995)
นักศึกษาครูต้องมีโอกาสได้เห็นอาจารย์ใช้เทคโนโลยีในทุกรายวิชา มากกว่าที่จะเห็นหรือได้เรียนการใช้เทคโนโลยีในการเรียนการสอนจากรายวิชาด้านเทคโนโลยีการศึกษาเพียงหนึ่งหรือสองวิชา (Brownell & Brownell, 1991; วสันต์ อติศัพท์, 2546 )
อุปสรรคที่สำคัญในการบูรณาการเทคโนโลยีในหลักสูตรศึกษาศาสตร์ คือ
ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ การขาดความสนใจ ทัศนคติด้านเทคโนโลยี การไม่มีเวลาในการเรียนรู้เทคโนโลยีใหม่ การขาดทักษะและความชำนาญในการใช้เทคโนโลยี
ปัจจัยด้านสถาบัน ได้แก่ นโยบายที่ชัดเจนด้านการใช้เทคโนโลยีในการเรียนการสอนของสถาบันฝึกหัดครู ความจำกัดของทรัพยากรด้านเทคโนโลยี งบประมาณการลงทุนทางเทคโนโลยี (Atisabda, 2001; Duhon, 1999; OTA, 1995; วสันต์ อติศัพท์, 2546)
กระบวนทัศน์ใหม่ด้านเทคโนโลยีการศึกษาในการฝึกหัดครู (วสันต์ อติศัพท์, 2546) คือ
การสร้างสภาพแวดล้อมใหม่ในคณะศึกษาศาสตร์ เพื่อส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีการศึกษาในบริบทจริง ที่มีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น
เน้นการสอนด้วยเทคโนโลยี มิใช่สอนเกี่ยวกับเทคโนโลยี ความรับผิดชอบด้านเทคโนโลยีการศึกษามิได้จำกัดเพียงแต่คณาจารย์ภาควิชาเทคโนโลยีการศึกษา อาจารย์คณะศึกษาศาสตร์ทุกคนต้องเป็นต้นแบบการใช้เทคโนโลยีการศึกษาในการเรียนการสอน
เทคโนโลยีการศึกษาต้องบูรณาการอยู่ทั่วทั้งหลักสูตรของคณะศึกษาศาสตร์
บรรณานุกรม
ไพฑูรย์ สินลารัตน์. ปฏิรูปการศึกษา : แนวคิดและหลักการตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพ.ศ.2542. กรุงเทพฯ : วิญญูชน, 2543.
มนตรี จุฬาวัฒนทล. รายงานการวิจัยเรื่อง นโยบายการผลิตและพัฒนาครู. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ, 2542.
วิชัย ตันศิริ. โฉมหน้าการศึกษาไทยในอนาคต : แนวคิดสำหรับการปฏิรูปในพระราชบัญญัติการศึกษา.กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย, 2547.
วสันต์ อติศัพท์. การบูรณาการนวัตกรรมเทคโนโลยีในการฝึกหัดครู. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ฉบับที่ 1, 2546.
สถาบันพัฒนาครู คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา. ยุทธศาสตร์การพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา ปี 2549-2551. กรุงเทพฯ : สำนักปลัดกระทรวง กระทรวงศึกษาธิการ, 2548.
Atisabda, W. Preservice teacher education in the information society:institutional efforts and faculty implementation of technology innovations.University of Missouri-Columbia, 2001.
John Wedman and Laura Diggs. Creating A Technology-Enhanced Learning Environmentin Teacher Education. University of Missouri-Columbia USA, 19_ _.
John Wedman, Jim Laffey, Richard Andrews, Laura Diggs, Lynn Diel. Building TechnologyInfrastructure and Enterprises: Increasing Performance Capacity.University of Missouri-Columbia USA, 19_ _.
Marra, R.M., Howland, J., Diggs, L., Wedman, J. A Little TLC (Technology Learning Cycle)as a Means to Technology Integration. The University of Missouri – Columbia, 2003.
Office of Technology Assessment (OTA), Education and Technology: Future Visions.U.S. Congress, (Washington, DC: U.S. Government Printing Office, 1995.
Office of Technology Assessment (OTA), Teachers and Technology: Making the Connection.U.S. Congress, (Washington, DC: U.S. Government Printing Office, 1995.
Yuehua Zhang. A Project-Based Learning Approach to Helping Pre-Service TeachersDevelop Technology Competencies. The Technology Source, September/October 2000. Available online at http://ts.mivu.org/default.asp?show=article&id=1034.
บันทึกโดย:: วุทธิศักดิ์ โภชนุกูล ภาควิชาเทคโนโลยีการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์e-Mail :: wuttisak@pochanukul.comWebsite:: http://www.pochanukul.com
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น