ถ้ากล่าวถึงปัญหาของ 3G ต้องย้อนกลับไปเมื่อประมาณ 30 ปีที่แล้ว กิจการโทรคมนาคมพัฒนาโครงสร้างองค์กรที่มีมูลค่ามาเป็นรูปแบบ รัฐวิสาหกิจ ส่วน Broadcast เป็นของทหารทั้งหมด ยกเว้น อสมท. ที่เป็นรัฐวิสาหกิจการบริหาร แบบรัฐวิสาหกิจและวิธีการให้สัมปทานแบบนี้ เป็นระบบที่เราพบแล้วว่ามีปัญหาเพราะปัญหาเรื่องความเป็นเจ้าของทรัพยากร เพราะดูเหมือนรัฐวิสาหกิจจะเป็นผู้ควบคุม และรายได้จากสัญญานี้เข้าสู่รัฐวิสาหกิจก่อน เมื่อได้กำไรจึงเป็นของรัฐ แต่โดยหลักการแล้ว สาธารณะ ควรจะเป็นเจ้าของ และรายได้จากค่าธรรมเนียมก็ควรจะเข้ารัฐ โดยตรง มากกว่าจะเป็นเพียงผลกำไรจากรัฐวิสาหกิจ ไม่มีองค์กรกำกับดูแล (Regulator) ที่เป็นอิสระ ทั้งตรวจสอบได้ยาก ไม่เอื้อต่อการกำหนดระเบียบและกติกาที่โปร่งใส เพราะเป็นการทำสัญญาระหว่างเอกชนกับรัฐวิสาหกิจโดยตรง ระบบนี้อิงอยู่กับรัฐ และเอื้อต่อระบบอุปภัมภ์
ในช่วงปี 2540 รัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 มีแนวคิดใหม่ๆ หลายประการที่พยายามตามให้ทันปัญหาเหล่านี้ คือการเกิด องค์กรอิสระ ซึ่งเป็นองค์กรตรวจสอบทางการเมืองที่มีหน้าที่กำกับดูแล และการมีส่วนร่วมของประชาชนองค์กรอิสระที่เกี่ยวข้องกับโทรคมนาคมของรัฐตามรัฐธรรมนูญ 2540 ก็คือ กทช. ที่ก่อตั้งขึ้นแล้ว และเป็นที่รู้จักกันดีในขณะนี้ ส่วนองค์กรอิสระที่กี่ยวข้องกับวิทยุ โทรทัศน์นั้น ตามแผนก็คือ กสช. แต่เนื่องจากตอนก่อตั้งมีปัญหา การเกิดขึ้นของ กทช. มีความมุ่งหวังหลายประการ ทั้งการเปลี่ยนรูปแบบการให้สัมปทาน มาเป็นการออก ใบอนุญาต โดยกทช. เป็นผู้ดำเนินการและเน้นกลไกลขั้นตอนที่โปร่งใส ตรวจสอบได้ อันได้แก่ต้องมีการประมูลความถี่ใหม่ และจัดการกับความถี่เดิม ช่วงเดียวกันนั่นเอง การแปรรูปรัฐวิสาหกิจก็ได้คืบหน้าเข้ามาสู่รัฐวิสาหกิจด้านโทรคมนาคม อันได้แก่การเกิดขึ้นของ TOT และ CAT Telecomอย่างไรก็ดี ผลที่ตามมา กลับส่งผลตามมาที่เป็นปัญหา ดังนี้
ปัญหาจากสัญญาสัมปทานเก่า
เดิมเมื่อยังเป็นรัฐวิสาหกิจ ทั้ง TOT และ CAT รับบทบาทเป็นผู้ให้สัมปทาน แม้องค์กรอิสระที่หวังให้เป็นองค์กรกำกับดูแลอย่าง กทช. จะเกิดขึ้นแล้ว แต่ก็ยังคงต้องรับรองสัญญาสัมปทานเก่าอยู่ด้วย
หากกทช. ยังคงต้องรับรองสัญญาเก่า แล้วจะเข้าไปจัดการกับกลุ่มความถี่เก่านี้อย่างไรตามความมุ่งหวังของรัฐธรรมนูญ?
ปัญหาอันมาจากการแปรรูปที่ยังไม่สมบูรณ์
องค์กรทั้ง TOT และ CAT แปรรูปและจดทะเบียนเป็นบริษัทที่มุ่งหวังจะเป็น ผู้ดำเนินกิจการ ทางโทรคมนาคมแล้ว คล้ายกับ AIS DTAC หรือ True แต่สัญญาของสัมปทานเก่ายังอยู่ นั่นคือก็คือเงินค่าธรรมเนียมสัมปทานยังคงเข้า TOT และ CAT ซึ่งเป็นเงินจำนวนมหาศาล แล้ว TOT กับ CAT จะสนับสนุนการคืนคลื่นความถี่ของสัมปทานเดิม หรือสนับสนุนการดำเนินการใดๆ ที่อาจมีผลให้สัมปทานเดิมต้องยกเลิกหรือ?
ปัญหาการผูกขาดรูปแบบการลงทุนและกิจการโทรคมนาคมในยุค 3G
เป็นเรื่องน่าสนใจอีกเรืองหนึ่ง ที่อาจจะไม่เกี่ยวกับความเป็นรัฐวิสาหกิจหรือสัมปทานโดยตรง แต่รูปแบบเดิมยังเอื้อต่อการผูกขาดมากครับ กล่าวอย่างกว้างๆ แล้ว ผู้ดำเนินการในธุรกิจนี้แยกได้เป็นสามส่วน
1. ผู้ดำเนินการด้านโครงข่าย
2. ผู้ให้บริการ
3. ผู้ให้บริการเนื้อหา (Content)
ผู้ดำเนินการด้านโครงข่ายเป็นหมวดที่ต้องใช้ลงทุนมหาศาล คุณสุภิญญาถึงกับบอกว่า ตามหลักแล้ว โครงข่ายน่าจะต้องผูกขาด ขณะที่หมวดอื่นๆ นั้น ไม่จำเป็นต้องลงทุนขนาดนี้ ผู้ประกอบการรายเลฏยังสามารถดำเนินการได้ อย่างไรก็ดี ณ ขณะนี้ ข้อกำหนดทางกลุ่มธุรกิจการสื่อสารยังไม่มีระเบียบชัดเจนอยู่ ทำให้เกิดการผูกขาดได้ง่าย เพราะยังไม่มีหลักในการแยกพิจารณาการดำเนินการทีละกลุ่ม แต่กำหนดให้ผู้ประกอบการต้องลงทุนด้านโครงข่ายด้วย จึงปิดทางหน่วยธุรกิจอื่นๆ เพราะคนที่จะลงทุนระดับโครงข่ายทั่วประเทศได้ จะต้องเป็นกลุ่มธุรกิจที่ใหญ่มากๆเปรียบเทียบโครงข่ายกับผู้ให้บริการคือโครงข่าย ก็คล้ายกับ ถนน ผู้ดำเนินการด้านโครงข่าย ก็เปรียบเสมือน ผู้สร้างถนน ผู้ให้บริการ ก็คล้ายกับผู้ให้บริการที่ใช้ถนนให้เป็นประโยชน์ เช่นบริษัทรถขนส่งต่างๆ นครชัยแอร์, สมบัติทัวร์,บขส ฯลฯ รูปแบบเดิม ก็คล้ายกับการกำหนดให้ บริษัทที่สนใจกิจการรถขนส่ง จำเป็นต้องมาประมูลสร้างถนนด้วยนั่นเอง ซึ่งในการจัดสรร 3G ที่กำลังจะเกิดขึ้นนี้ ได้พยายามแก้ปัญหานี้ ด้วยการเปิดพื้นที่ให้กับ ผู้ให้บริการที่ไม่มีระบบโครงข่าย หรือ MVNO (Mobile virtual network operator) นั่นเองเงื่อนไขการจัดสรร 3G ที่กำลังอยู่ในแผนการนี้ กำหนดว่าต้องกัน 40% ให้ MVNO ผู้ลงทุนดำเนินการด้านการให้บริการเองทั้งหมดไม่ได้ การเปิดเสรีของผู้ให้บริการนี้เอง จะทำให้ทุกคนสามารถเป็นผู้ให้บริการ 3G ได้ครับ อย่างเช่น 365 หรือ iFox 3G และไม่เว้นแม้แต่ TiGERiDEA ก็ยังสามารถทำได้
ปัญหาความทับซ้อนของ 3G ธุรกิจสื่อสารกับธุรกิจ Broadcast
มาตรฐานโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3G นอกจากจะรองรับการสื่อสารข้อมูลที่รวดเร็วกว่ามาตรฐาน 2G/2.5G/2.75G แล้ว ยังก่อให้เกิดการถือกำเนิดของบริการรูปแบบใหม่ ๆ ที่ไม่สามารถสร้างขึ้นบนเครือข่ายเก่าได้ ที่ชัดเจนก็คือบริการ Video Telephony และ Video Conference ซึ่งเป็นการสื่อสารแบบเห็นหน้า โดยเครือข่าย 3G จะทำการถ่ายทอดสดทั้งภาพและเสียงระหว่างคู่สนทนา โดยไม่เกิดความหน่วงหรือล่าช้าของข้อมูล
ไทย – โมบาย เป็นเพียงผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่รายเดียวในประเทศไทยที่สามารถเปิด ให้บริการเครือข่าย 3G แบบ W-CDMA ได้ในทันที เนื่องจากมีสิทธิ์ใช้คลื่นความถี่วิทยุในย่าน 1965 – 1980 เมกะเฮิตรซ์ และ 2155 – 2170 เมกะเฮิตรซ์ ขณะที่ผู้ให้บริการเครือข่ายรายอื่น ๆ จำเป็นต้องยื่นคำร้องผ่านกระบวนการจัดสรรคลื่นความถี่วิทยุโดยคณะกรรมการ กิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์แห่งชาติ (กสช.) ซึ่งคาดว่าจะต้องใช้เวลาอีกหลายปี
ในปัจจุบัน รัฐธรรมนูญปี 2550 กำหนดให้ตั้งองค์กรอิสระขึ้นมาใหม่เป็นองค์กรเดียว ดูแลทั้ง โทรคมาคมและวิทยุโทรทัศน์ ที่ชื่อว่า กสทช.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น