หอย...ดอง

หอย...ดอง
ฮืม........

วันอาทิตย์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ทฤษฎีคุณธรรม

ความหมายคำว่า “คุณธรรม” (Moral / Virtue)
พระเทพวิสุทธิเมธี (๒๕๒๙ : ๙๐) ได้กล่าวว่า คุณธรรม หมายถึง คุณสมบัติฝ่ายดีโดยส่วนเดียวเป็นที่ตั้งหรือเป็นประโยชน์แก่สันติภาพของมนุษย์และได้อธิบายคำว่า คำว่า “คุณ” หมายถึง ค่าที่มีอยู่ในแต่ละสิ่งซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งความยึดถือเป็นไปได้ทั้งทางดีและทางร้าย ส่วนคำว่า “ธรรม” มีความหมาย ๔ อย่าง คือ
๑. ธรรม คือ ธรรมชาติ
๒. ธรรม คือ กฎของธรรมชาติ
๓. ธรรม คือ หน้าที่ของกฎตามธรรมชาติ
๔. ธรรม คือ ผลจากการปฏิบัติหน้าที่นั้น
วศิน อินทสระ (๒๕๓๔ : ๙๘) ให้ความหมายคุณธรรมไว้ว่า คุณธรรม หมายถึง อุปนิสัยอันดีงามซึ่งสะสมอยู่ในจิต
กู๊ด (Good) (อ้างถึงในสุรดี อำนวยศิริสุข. ๒๕๓๔ : ๙) ได้ให้ความหมายว่า คุณธรรม คือความดีงามของลักษณะหรือพฤติกรรมที่ได้กระทำจนเคยชิน เป็นคุณภาพของบุคคลที่ได้กระทำตามความคิดและมาตรฐานของสังคมซึ่งเกี่ยวข้องกับความประพฤติและศีลธรรม
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถาน (๒๕๔๒ : .......) ได้ให้ความหมายไว้ว่า คุณธรรม หมายถึง คุณงามความดี การกระทำความดี ละความชั่วทั้งปวง
พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ ของพระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ประยุตโต) อธิบายว่า คุณธรรม หมายถึง ธรรมที่เป็นคุณความดีงาม สภาพที่เกื้อหนุน
สาโรช บัวศรี (๒๕๓๕ : ๒) ให้ความหมายว่า คุณธรรม หมายถึง ความเชื่อของบุคคลส่วนใหญ่เป็นสิ่งที่งดงามที่จะส่งผลให้เกิดการกระทำที่เป็นประโยชน์และความดีที่แท้จริงต่อสังคม
สงวน สุทธิเลิศอรุณ (๒๕๓๗ : ๘) ได้สรุปความหมายของคุณธรรมว่า หมายถึง คุณความดีของบุคคลที่ได้กระทำไปด้วยความสำนึกในจิตใจ โดยมีเป้าหมายว่าเป็นการกระทำความดีหรือประพฤติที่ดี ซึ่งเป็นที่ยอมรับของสังคม
ประภาศรี สีหอำไพ (๒๕๔๐ : ๒๒) กล่าวว่า คุณธรรม คือสภาพของคุณงามความดีภายในบุคคล ทำให้เกิดความชื่มชม ยินดี มีจิตใจที่เต็มเปี่ยม ไปสู่ความสุขขั้นสมบูรณ์
พระมหาอดิศร ถิรสีโล (๒๕๔๐ : ๕๕) กล่าวว่า คุณธรรม หมายถึง ความดีสูงสุดปลูกฝังอยู่ในอุปนิสัยอันดีงามอยู่ในจิตสำนึกอยู่ในความรู้สึกผิดชอบชั่วดีอันเป็นเครื่องเหนี่ยวรั้ง ควบคุมพฤติกรรมที่แสดงออก สนองความปรารถนา
จากความหมายของคุณธรรมตามที่กล่าวมาแล้วอาจสรุปได้ว่า คุณธรรม สภาพคุณงามความดีที่เป็นธรรมชาติ ที่สั่งสมอยู่ในจิตใจมนุษย์ เมื่อแสดงออกเป็นพฤติกรรมที่ดี เป็นที่ยอมรับของสังคม ก่อให้เกิด ประโยชน์ต่อตนเอง ต่อผู้อื่นและสังคม

ไม่มีความคิดเห็น: